วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่10การประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท


บทที่ 10

การประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท

อัตราส่วนทางการเงิน
         อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงินมาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่น หรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยงของกิจการได้ดียิ่งขึ้น

การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงิน
          การวิเคราะห์จะสามารถทำการเปรียบเทียบได้ 2 วิธี คือ
           การเปรียบเทียบอัตราส่วนแบบ across time  ซึ่งจะดูว่าแนวโน้มในอนาคตของบริษัทจะเป็นอย่างไร  โดยการเปรียบเทียบนั้นจะทำโดยการเปรียบเทียบอัตราส่วนของบริษัท ณ เวลาปัจจุบันกับอัตราส่วนทางการเงินในอดีต
          การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทกับอัตราส่วนค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม  ซึ่งจะต้องเป็นค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเดียวกันด้วย
             

ประเภทของอัตราส่วนทางการเงิน(Basic of Financial Ratios)

        1.  การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง หรือวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น(Liquidity Ratios)
       2.  การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพหนี้สิน  (Leverage Ratios)
        3.  การวิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
        4.  การวิเคราะห์อัตราส่วนมูลค่าตลาด (Market-Value Ratios)

การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)

            การวิเคราะห์สภาพคล่อง  คือการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ  ว่าธุรกิจมีทรัพยากรหรือเงินสดเพียงพอต่อการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้หรือไม่  โดยอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่
§  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
§  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเร็ว (Quick (acid-test) Ratio)
§  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
                        วิธีนี้จะเป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียน (เงินและทรัพย์สินที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี) กับหนี้สินหมุนเวียน (หนี้สินที่มีกำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปี)



Ø     อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
                        วิธีนี้จะเป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียน (เงินและทรัพย์สินที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี) กับหนี้สินหมุนเวียน (หนี้สินที่มีกำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปี) 
             


การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพหนี้สิน (Leverage Ratios)

                 เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้สิน หรือความสามารถในการ    ชำระหนี้ตามภาระผูกพันระยะยาวของธุรกิจ  โดยอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์มีดังนี้
v อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม (Debt Ratio)
v อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt – to – equity Ratio)
v อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (time – Interest Earned Ratio)
v อัตราส่วนแสดงความสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำทางการเงิน (EBITDA Converage Ratio)

vอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม

  อัตราส่วนนี้จะใช้พิจารณาว่าทรัพย์สินที่บริษัทได้ลงทุนนั้นมีการใช้เงินทุนจากหนี้สินมาลงทุนคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนรวมทั้งหมด ซึ่งสามารถคำนวณได้จาก
             =    –(มุมของเจ้าหนี้ ยิ่งมากยิ่งเสียง)
                    –(มุมของลูกหนี้ ยิ่งมากยิ่งดี) 
                                                            

vอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt – to – equity Ratio)

   อัตราส่วนนี้บ่งบอกได้ว่าการลงทุนในบริษัทดังกล่าวมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด
 ค่ามากกว่า 1 แสดงว่าบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น แสดงถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้น หรือบ่งบอกความสามารถของการกู้ยืมของกิจการว่าสามารถกู้ยืมได้มากเท่าไหร่

v  อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (time – Interest Earned Ratio)
                อัตราส่วนนี้จะแสดงถึงจำนวนของกำไรจากการดำเนินงานว่ามีเพียงพอต่อการชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทหรือไม่  ซึ่งสามารถหาได้จาก

           
               
                ซึ่งถ้าค่าที่ได้ยิ่งสูงยิ่งแสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยได้ดี
หมายเหตุ : อัตราส่วนนี้จะแสดงแค่ความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว  
                     เท่านั้น  จะไม่รวมถึงความสามารถในการชำระคืนหนี้สินทั้งหมดของบริษัท
                     (เงินต้น + ดอกเบี้ย)
vอัตราส่วนแสดงความสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำทางการเงิน    
    (EBITDA Converage Ratio)  

อัตราส่วนนี้จะบอกถึงภาระผูกพันของกิจการ หรือก็คือ ใช้วัดว่ากระแสเงินสดสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำได้เพียงไร

                    


การวิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios)

  เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ  โดยอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์มีดังต่อไปนี้
üอัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขาย (Gross Profit Margin)
üอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (Operating Profit Margin)
üอัตราส่วนผลกำไรต่อยอดขาย (Profit Margin)
üอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Total Asset) หรือ ROA
üอัตราส่วนรายได้ขั้นพื้นฐาน (Basic Earning Power)
üอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Common Equity) หรือ ROE
ü  อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขาย (Gross Profit Margin)
            อัตราส่วนนี้จะแสดงว่ากิจการมีกำไรขั้นต้นเป็นร้อยละเท่าใดของยอดขาย 
       
      
            ค่าที่คำนวณได้ของอัตราส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดี ยิ่งแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นของกิจการ             
 üอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (Operating Profit Margin)
  อัตราส่วนนี้จะบ่งบอกว่าบริษัทสามารถทำกำไรจากการดำเนินงานได้เท่าใดจากยอดขาย

 

โดยค่าที่คำนวณได้ยิ่งสูงยิ่งดี  ยิ่งแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นต่อยอดขายได้สูง
üอัตราส่วนผลกำไรต่อยอดขาย (Profit Margin)
  โดยอัตราส่วนนี้จะบ่งบอกว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าใดจากยอดขาย
  

ค่าที่คำนวณได้จะแสดงให้ทราบว่า กิจการมีกำไรสุทธิเป็นร้อยละเท่าไรของยอดขาโดยอัตราส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดีแสดงความสามารถในการทำกำไรสุทธิ
üอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Total Asset) หรือ ROA
 
  อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์รวมที่กิจการมีอยู่ว่าก่อให้เกิดผลตอบแทนในรูปกำไรให้กับธุรกิจมากหรือน้อยอย่างไร     
        
  ค่าที่คำนวณได้ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่ากิจการใช้สินทรัพย์แล้วก่อให้เกิดกำไรสูง  ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ  แสดงว่าการใช้สินทรัพย์แล้วก่อให้เกิดกำไรน้อย  
üอัตราส่วนรายได้ขั้นพื้นฐาน (Basic Earning Power)
  อัตราส่วนนี้ใช้วัดความสามารถในการทำกำไร โดยไม่รวมภาษีและดอกเบี้ยจ่ายของกิจการ

  โดยค่าที่คำนวณได้ยิ่งมีค่าสูงยิ่งแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไร โดยไม่รวมภาษีและดอกเบี้ยมาก (ยิ่งสูงยิ่งดี)
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity)หรือ ROE 
  
เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้ผู้ถือหุ้นทราบว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนมากน้อยเพียงใด

  ค่าที่คำนวณได้ยิ่งสูงยิ่งแสดงว่ากิจการนำส่วนของผู้ถือหุ้นมาลงทุนแล้วก่อให้เกิดกำไรมากเท่านั้น (ยิ่งสูงยิ่งดี)             
 การวิเคราะห์อัตราส่วนมูลค่าตลาด (Market-Value Ratios)
        ประกอบไปด้วยอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้
อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น  (Price-Earning  Ratio  or  P/E  Ratio)
ราคาตามบัญชีต่อหุ้นสามัญ (Book Value per share)
อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (Market/Book Value Ratio  or    M/BV Ratio

   อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น(Price-Earning  Ratio  or  P/E  Ratio)

                อัตราส่วนนี้จะแสดงว่าเพื่อให้ได้กำไร  1  บาทต่อหุ้น  ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนเท่าใด  หรือราคาหุ้นเป็นกี่เท่าของกำไรต่อหุ้น
              
                ถ้าค่าที่คำนวณได้สูง  ยิ่งแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรในอนาคตได้มากเท่านั้น (ยิ่งสูงยิ่งดี) 
ราคาตามบัญชีต่อหุ้นสามัญ (Book Value per share)
โดยที่  ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม = สินทรัพย์รวม – หนี้สินรวม
อัตราส่วนนี้จะทำให้ทราบว่ากิจการมีราคาตามบัญชีต่อหุ้นสามัญของกิจการว่ามีจำนวนเท่าใด

  อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี  (Market/Book Value Ratio  or  M/B Ratio)

                

              

  โดยที่ มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น  คำนวณจาก  ส่วนของเจ้าของ จำนวนหุ้นสามัญ

                ถ้าค่าที่คำนวณได้มีอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่านักลงทุนเต็มใจที่จะจ่ายมากกว่าสำหรับทุกๆบาทของมูลค่าตามบัญชีของบริษัท (ยิ่งสูงยิ่งดี)
ข้อจำกัดของอัตราส่วนทางการเงิน
บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าบริษัทนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทใด  เนื่องจากว่าบริษัทส่วนใหญ่จะประกอบธุรกิจหลายๆประเภท  ดังนั้นบริษัทจึงต้องเลือกประเภทของอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับธุรกิจที่ทำอยู่มากที่สุด
อัตราส่วนค่าเฉลี่ยมาตรฐานของอุตสาหกรรมที่มีการจัดพิมพ์ไว้นั้นเป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น
การจัดทำบัญชีในทางปฏิบัติของบริษัทต่างๆค่อนข้างจะแตกต่างกัน  จึงทำให้การคำนวณอัตราส่วนทางการเงินนั้นมีความแตกต่างกันด้วย
อัตราส่วนทางการเงินสามารถมีค่าที่สูงมากเกินไปหรือมีค่าต่ำมากเกินไปได้
อัตราส่วนค่าเฉลี่ยมาตรฐานของอุตสาหกรรมบางครั้งอาจไม่เป็นค่าเฉลี่ยมาตรฐานก็ได้  เนื่องจากในบางครั้งอัตราส่วนค่าเฉลี่ยมาตรฐานอาจไม่ได้เป็นเกณฑ์ในการประเมินสถานะทางการเงินที่ดีเสมอไป  การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินกับบริษัทคู่แข่งอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าได้
เนื่องจากบริษัทหลายแห่งจะดำเนินงานเป็นไปตามฤดูกาล  เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน  ควรใช้ค่าเฉลี่ยมากกว่าที่จะเป็นมูลค่า ณ สิ้นปี

มาลองทำแบบฝึกหัดกันเลย

1.อัตราส่วนทางการเงินหมายถึงอะไร   

 2.การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง

 3.ประเภทอัตราส่วนทางการเงินมีอะไรบ้าง

   จากงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินของบริษัท ไมตรี จำกัด ณ ปลายปี 2556 มีรายละเอียด ดังนี้



    จงหาคำนวณหาค่า ROA และROE ของบริษัท รักดี จำกัด
เฉลยข้อที่1

เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงินมาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่น หรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยงของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
  เฉลยข้อที่2

     การเปรียบเทียบได้มี 2 วิธี คือ
     1.การเปรียบเทียบอัตราส่วนแบบ across time
    2.การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทกับอัตราส่วนค่าเฉลี่ยของ
เฉลยข้อที่3
       1.  การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง หรือวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น
               (Liquidity Ratios)
       2.  การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพหนี้สิน  (Leverage Ratios)
       3.  การวิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
       4.  การวิเคราะห์อัตราส่วนมูลค่าตลาด (Market-Value Ratios)
เฉลยขอที่ 4 - 5
ROA = 10%
ROE = 12%

บทที่5บริษัทจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจ

บริษัทจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจ

เงินทุนระยะยาว

เงินทุนที่มีระยะเวลาก่อประโยชน์ให้แก่กิจการให้นานกว่า 1ปี เพื่อนำเงินมาลงทุนในกิจการหรือขยายกิจการ 

ตลาดการเงิน(Financial Market) 
     หมายถึง ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนหรือการเปลี่ยนมือในสินทรัพย์ทางการเงินจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรือจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมไปสู่หน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการเงินออม โดยสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวออกโดยหน่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน รัฐบาล ประกอบไปด้วย
-ตลาดเงิน(Money Market) ซื้อขายหลักทรัพย์อายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี หรือ จัดหาเงินทุนในระยะสั้น
-ตลาดทุน(Capital Market) อายุมากกว่า 1 ปี หรือ จัดหาเงินทุนระยะยาว
บทบาทและหน้าที่ของตลาดการเงิน
1. ทำให้ผู้ออมได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยและอื่นๆ
2. ทำให้ผู้ลงทุนมีเงินทุนนำไปใช้ในโครงการต่างๆโดยตลาดเงินจะมีบทบาทและหน้าที่ในการสนับสนุนการระดมทุนให้กับหน่วยธุรกิจ
3. ทำให้ผู้บริโภคมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น
4. ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการสะสมทุนของประเทศเพิ่มขึ้น
5. ทำให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจใช้เป็นเครื่องมือของภาครัฐในการ  บริหารจัดการภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

ส่วนประกอบของตลาดการเงิน

ตลาดการเงินมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1.    ผู้มีเงินออม
            1.1 เงินออมจากภาคเอกชน คือ การออมของบุคคลทั่วๆไป และหน่วยธุรกิจเอกชน
            1.2 เงินออมจากภาครัฐบาล คือ เงินที่เกิดจากรายได้ของภาค รัฐบาลที่สูงกว่ารายจ่ายในปีงบประมาณหนึ่งๆ ถือว่าเป็นเงินออมที่นำส่งคลัง เรียกว่า เงินคงคลัง
            1.3 เงินออมจากต่างประเทศ คือ การระดมเงินจากต่างประเทศทำได้โดยการกู้ยืมจากต่างประเทศ
2. ผู้ต้องการเงินทุน ได้แก่
            2.1 การกู้ยืมภาคเอกชน ได้แก่ การกู้ยืมของบุคคลทั่วไปและธุรกิจภาคเอกชน ทั้งเพื่อการใช้จ่ายในการอุปโภค บริโภค และการลงทุนประกอบธุรกิจ
            2.2 การกู้ยืมภาครัฐบาล เช่น การกู้ยืมของรัฐบาลเพื่อการสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน(Infrastructure) ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
            2.3 การกู้ยืมจากต่างประเทศ ถ้าการระดมเงินออมภายในประเทศไม่เพียงพอ ก็ต้องมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลในรูปแบบต่างๆกัน
3.สินทรัพ ย์ทางการเงิน(Financial Assets) จำแนกออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
            3.1 สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยภาคเอกชน ที่สำคัญได้แก่
                        3.1.1ตั๋วแลกเงิน(Bill of Exchange : B/E) คือ หนังสือตราสารที่ผู้สั่งจ่าย(Drawer) สั่งผู้จ่าย(Drawee) ให้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือให้จ่ายเงินตามคำสั่งของผู้รับเงินในอนาคตที่ได้กำหนดไว้หน้าตั๋ว
                        3.1.2ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note : P/N) คือ หนังสือสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการชำระเงินให้แก่ผู้ถือหรือผู้รับที่มีชื่อระบุอยู่บนตั๋ว
                        3.1.3 เช็ค(Cheque) คือ ตั๋วเงินที่แสดงคำสั่งที่เป็นรายลักษณ์อักษรของเจ้าของบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ สั่งให้ธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินในจำนวนที่ได้ระบุไว้ในเช็คแก่ผู้ที่ถือเช็ค
                        3.1.4บัตรเงินฝาก(Negotiable Certificate of Deposit)เป็นตราสารที่สถาบันการเงินออกให้ผู้ฝากเงินไว้เป็นหลักฐาน
                        3.1.5ตราสารที่ธนาคารรับรอง(Bankers’ Acceptance)เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่อยู่ในรูปของตั๋วแลกเงิน(Bill of Exchange)ที่ธนาคารรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน การที่ธนาคารรับรอง(accept)หมายถึง การรับรองของธนาคารในการจ่ายเงินให้กับตั๋วที่ครบกำหนด        
                        3.1.6ตราสารหนี้ภาคเอกชนหรือหุ้นกู้(Corporate Bond : Debentures)คือ สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยธุรกิจ เพื่อระดมทุนในทางกฎหมาย ได้มีการให้คำจำกัดความว่า หุ้นกู้ คือ ตราสารแห่งหนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดที่แบ่งเป็นหน่วยแต่ละหน่วย มีมูลค่าเท่ากันและกำหนดประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกหน่วย
                        3.1.7หุ้นสามัญ(Common Stock)เป็นตราสารที่ผู้ถือมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ ตามสัดส่วนที่ถืออยู่ ต้องรับภาระความเสี่ยงจากผลการดำเนินงาน มีสิทธิในการควบคุมการดำเนินงาน โดยออกเสียงเลือกกรรมการบริหารบริษัท
                        3.1.8หน่วยลงทุน(Unit Trust)เป็นตราสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุน ซึ่งออกโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชน
                         3.1.9หุ้นบุริมสิทธิ(Preferred Stock)คือ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราตายตัว หุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
                        3.1.10ใบสำคัญแสดงสิทธิ(Warrant)เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
                        3.1.11หุ้นกู้แปลงสภาพ(Convertible Debentures)หมายถึง ตราสารประเภทหุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามราคาที่ระบุและตามระยะเวลาที่กำหนด อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างหุ้นกู้แปลงสภาพกับหุ้นสามัญสามารถกำหนดได้ในรูปของราคาแปลงสภาพหรืออัตราแปลงสภาพ
3.2 สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยรัฐบาลที่สำคัญ ได้แก่
                       3.2.1 พันธบัตรรัฐบาล (government bond) เป็นตราสารที่รัฐบาลออกเพื่อกู้ยืมในตลาดการเงิน โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ประกันการจำหน่ายแต่ผู้เดียว
                       3.2.2 พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (state enterprise bond) เป็นตราสารที่รัฐวิสาหกิจออกมาระดมทุนในประเทศแทนการกู้เงินจากต่างประเทศมีทั้งที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน อายุตั้งแต่ 3-10 ปี
                       3.2.3 ตั๋วเงินคลัง (treasury bills) คือ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุในการไถ่ถอนน้อยกว่า 1 ปี โดยปกติอายุในการไถ่ถอนของตั๋วเงินคลังที่รัฐบาลนิยมออกคือ 1,3,6 และ 9 เดือน
4. สถาบันการเงินในตลาดการเงิน
                      4.1สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือนายหน้าในการนำผู้ที่มีเงินออมคือผู้ต้องการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินมาพบกับผู้ที่ต้องการเงินโดยการขายสินทรัพย์ทางการเงิน เพื่อตกลงซื้อขายกัน
                      4.2สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นผู้ค้าสินทรัพย์ทางการเงินที่สำคัญได้แก่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลางและบริษัทเงินทุน
                      4.3สถาบันที่ทำหน้าที่ประกันการขายจะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินทรัพย์ทางการเงินที่ออกใหม่
                      4.4สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน
                      4.5 สถาบันที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ระเบียบ ตลอดจนกำกับดูแลให้สถาบันกลุ่มอื่นๆ

 โครงสร้างตลาดการเงิน

การแบ่งประเภทของตลาดการเงินทําได้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยม คือ การแบ่งตามอายุของสินทรัพย์ทางการเงิน โดยแบ่งออกเป็น ตลาดเงินและตลาดทุน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 
• ตลาดเงิน (Money Market) เป็นตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก ตั๋วเงินคลัง เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนไปใช้ ในระยะสั้นหรือเพื่อการหมุนเวียนภายในกิจการ
• ตลาดทุน(Capital Market) เป็นตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป  เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น เพื่อนําเงินทุนที่ได้ไปใช้ในการลงทุนโครงการระยะยาวต่าง ๆ
ตลาดทุนแบ่งออกได้เป็นตลาดแรกและตลาดรอง
      - ตลาดแรก (Primary Market) เป็นตลาดที่สินทรัพย์ทางการเงินถูกซื้อขายครั้งแรก รหว่าง DSU กับ SSU โดย DSU เป็นผู้ออกหลักทรัพย์มาขายเพื่อนําเงินที่ได้ไปลงทุนในโครงการ ลงทุนต่าง ๆ
      - ตลาดรอง (Secondary Market) เป็นตลาดที่สินทรัพย์ทางการเงินที่ SSU ถือครองอยู่แต่ ต้องการขาย ด้วยเหตุผลที่ต้องการได้รับเงินทุน หรือต้องการขายเพื่อทํา กําไร จึงต้องหา SSU รายอื่นที่ต้องการลงทุน หรือ ซื้อสินทรัพย์ ทางการเงินนั้นแทน               
       -ตลาดรองยังสามารถแบ่งออกเป็น ตลาดที่เป็นทางการ (Organized Market) คือ ตลาดที่มี การจัดตั้งอย่างเป็นระบบ มีข้อบังคับกฎเกณฑ์ในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน หรือหลักทรัพย์ทางการเงินอย่างชัดเจน

กิจการวาณิชธนกิจ

      หมายถึง กิจการที่มีความเชี่ยวชาญทางการเงินที่เป็นตัวกลางในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์

หน้าที่ของกิจการวาณิชธนกิจ

รับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriting)
ทำหน้าที่ในการนำหลักทรัพย์ของบริษัทที่จัดหาเงินทุนออกจำหน่าย  โดยกิจการวาณิชธนกิจจะรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ในกรณีไม่สามารถจำหน่ายหลักทรัพย์ได้หมดหรือจำหน่ายได้ในราคาที่ต่ำกว่า
กำหนดการจัดจำหน่าย (Distributing)
นำหลักทรัพย์ออกจำหน่ายแก่นักลงทุนทั่วไป  ซึ่งอาจจะจำหน่ายผ่านสาขาของกิจการวาณิชธนกิจหรือผ่านตัวแทนจำหน่าย
การให้คำปรึกษา (Advising)
ให้คำปรึกษาทางการเงินของกิจการไม่ว่าในด้านการลงทุน  การซื้อขายหลักทรัพย์  รวมถึงการให้ข่าวสารเกี่ยวกับตลาดหุ้นด้วย

การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์

         คือ การที่ผู้จำหน่าย (underwriter) รับหลักทรัพย์ที่ออกใหม่จากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ (issuer) แล้วนำมาขายให้แก่ประชาชนทั่วไปหรืออาจกล่าวสั้นๆ ว่าเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในตลาดแรก (primary market) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ผุ้ประกอบการจะต้องมีใบอนุญาตจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ โดยทั่วไปแล้ว การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ
(1) การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่มีการรับประกันผลการจำหน่าย (firm commitment underwriting)
(2) ไม่มีการรับประกันผลการจำหน่าย ขายได้เต็มที่เท่าไรก็เท่านั้น (best effort)

วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Distribution Methods)

1.   วิธีการเจรจาต่อรอง (negotiated purchase)
            บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เจรจาต่อรองโดยตรงกับกิจการวาณิชธนกิจ  เกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ
2.   วิธีการประมูลราคาหลักทรัพย์ (competitive bid purchase)
            กิจการวาณิชธนกิจหลายๆกลุ่มเข้าแข่งขันประมูลราคาหลักทรัพย์
3.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบพยายามที่สุด (best efforts basis)

                        กิจการวาณิชธนกิจจะเป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายเท่านั้นจะไม่ รับประกันการจำหน่าย       4.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบ privileged subscription
            กิจการวาณิชธนกิจจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนเฉพาะกลุ่ม     เช่น  ผู้ถือหุ้นปัจจุบัน  พนักงานบริษัท หรือลูกค้าของบริษัท
5.  วิธีการขายตรง (direct sale)
เป็นวิธีที่จำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนเฉพาะกลุ่มเช่นเดียวกันแบบ privileged subscription  แต่จะต่างกันตรงวิธีขายตรงจะขายให้แก่นักลงทุนโดยตรงโดยไม่ผ่านกิจการวาณิชธนกิจ 

แบบฝึกหัด

1.ตลาดเงินและตลาดทุนมีความแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตลาดเงิน(Money Market) ซื้อขายหลักทรัพย์อายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี หรือ จัดหาเงินทุนในระยะสั้น
ตลาดทุน(Capital Market) อายุมากกว่า 1 ปี หรือ จัดหาเงินทุนระยะยาว

2. สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยภาครัฐ มีอะไรบ้าง อธิบาย

1 พันธบัตรรัฐบาล คือ เป็นตราสารที่รัฐบาลออกเพื่อกู้ยืมในตลาดการเงิน โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ประกันการจำหน่ายแต่ผู้เดียว
2 พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ คือ เป็นตราสารที่รัฐวิสาหกิจออกมาระดมทุนในประเทศแทนการกู้เงินจากต่างประเทศมีทั้งที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน อายุตั้งแต่ 3-10 ปี
3 ตั๋วเงินคลัง คือ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุในการไถ่ถอนน้อยกว่า 1 ปี โดยปกติอายุในการไถ่ถอนของตั๋วเงินคลังที่รัฐบาลนิยมออกคือ 1,3,6 และ 9 เดือน

3.ตลาดทุนแบ่งออกเป็นกี่ตลาดอะไรบ้าง

ตลาดทุนแบ่งออกเป็น 2 ตลาด คือ ตลาดแรกและตลาดรอง

4. การจำหน่ายหลักทรัพย์แบ่งออกเป็นกี่รูปแบบอะไรบ้าง

การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
 1  การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่มีการรับประกันผลการจำหน่าย
  2  ไม่มีการรับประกันผลการจำหน่าย ขายได้เต็มที่เท่าไรก็เท่านั้น

5. วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์มีกี่วิธี อะไรบ้าง

มี 5 วิธี ดังนี้
1.   วิธีการเจรจาต่อรอง
2.   วิธีการประมูลราคาหลักทรัพย์
3.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบพยายามที่สุด
4.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบ
5.  วิธีการขายตรง