วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่5บริษัทจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจ

บริษัทจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจ

เงินทุนระยะยาว

เงินทุนที่มีระยะเวลาก่อประโยชน์ให้แก่กิจการให้นานกว่า 1ปี เพื่อนำเงินมาลงทุนในกิจการหรือขยายกิจการ 

ตลาดการเงิน(Financial Market) 
     หมายถึง ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนหรือการเปลี่ยนมือในสินทรัพย์ทางการเงินจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรือจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมไปสู่หน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการเงินออม โดยสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวออกโดยหน่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน รัฐบาล ประกอบไปด้วย
-ตลาดเงิน(Money Market) ซื้อขายหลักทรัพย์อายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี หรือ จัดหาเงินทุนในระยะสั้น
-ตลาดทุน(Capital Market) อายุมากกว่า 1 ปี หรือ จัดหาเงินทุนระยะยาว
บทบาทและหน้าที่ของตลาดการเงิน
1. ทำให้ผู้ออมได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยและอื่นๆ
2. ทำให้ผู้ลงทุนมีเงินทุนนำไปใช้ในโครงการต่างๆโดยตลาดเงินจะมีบทบาทและหน้าที่ในการสนับสนุนการระดมทุนให้กับหน่วยธุรกิจ
3. ทำให้ผู้บริโภคมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น
4. ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการสะสมทุนของประเทศเพิ่มขึ้น
5. ทำให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจใช้เป็นเครื่องมือของภาครัฐในการ  บริหารจัดการภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

ส่วนประกอบของตลาดการเงิน

ตลาดการเงินมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1.    ผู้มีเงินออม
            1.1 เงินออมจากภาคเอกชน คือ การออมของบุคคลทั่วๆไป และหน่วยธุรกิจเอกชน
            1.2 เงินออมจากภาครัฐบาล คือ เงินที่เกิดจากรายได้ของภาค รัฐบาลที่สูงกว่ารายจ่ายในปีงบประมาณหนึ่งๆ ถือว่าเป็นเงินออมที่นำส่งคลัง เรียกว่า เงินคงคลัง
            1.3 เงินออมจากต่างประเทศ คือ การระดมเงินจากต่างประเทศทำได้โดยการกู้ยืมจากต่างประเทศ
2. ผู้ต้องการเงินทุน ได้แก่
            2.1 การกู้ยืมภาคเอกชน ได้แก่ การกู้ยืมของบุคคลทั่วไปและธุรกิจภาคเอกชน ทั้งเพื่อการใช้จ่ายในการอุปโภค บริโภค และการลงทุนประกอบธุรกิจ
            2.2 การกู้ยืมภาครัฐบาล เช่น การกู้ยืมของรัฐบาลเพื่อการสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน(Infrastructure) ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
            2.3 การกู้ยืมจากต่างประเทศ ถ้าการระดมเงินออมภายในประเทศไม่เพียงพอ ก็ต้องมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลในรูปแบบต่างๆกัน
3.สินทรัพ ย์ทางการเงิน(Financial Assets) จำแนกออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
            3.1 สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยภาคเอกชน ที่สำคัญได้แก่
                        3.1.1ตั๋วแลกเงิน(Bill of Exchange : B/E) คือ หนังสือตราสารที่ผู้สั่งจ่าย(Drawer) สั่งผู้จ่าย(Drawee) ให้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือให้จ่ายเงินตามคำสั่งของผู้รับเงินในอนาคตที่ได้กำหนดไว้หน้าตั๋ว
                        3.1.2ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note : P/N) คือ หนังสือสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการชำระเงินให้แก่ผู้ถือหรือผู้รับที่มีชื่อระบุอยู่บนตั๋ว
                        3.1.3 เช็ค(Cheque) คือ ตั๋วเงินที่แสดงคำสั่งที่เป็นรายลักษณ์อักษรของเจ้าของบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ สั่งให้ธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินในจำนวนที่ได้ระบุไว้ในเช็คแก่ผู้ที่ถือเช็ค
                        3.1.4บัตรเงินฝาก(Negotiable Certificate of Deposit)เป็นตราสารที่สถาบันการเงินออกให้ผู้ฝากเงินไว้เป็นหลักฐาน
                        3.1.5ตราสารที่ธนาคารรับรอง(Bankers’ Acceptance)เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่อยู่ในรูปของตั๋วแลกเงิน(Bill of Exchange)ที่ธนาคารรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน การที่ธนาคารรับรอง(accept)หมายถึง การรับรองของธนาคารในการจ่ายเงินให้กับตั๋วที่ครบกำหนด        
                        3.1.6ตราสารหนี้ภาคเอกชนหรือหุ้นกู้(Corporate Bond : Debentures)คือ สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยธุรกิจ เพื่อระดมทุนในทางกฎหมาย ได้มีการให้คำจำกัดความว่า หุ้นกู้ คือ ตราสารแห่งหนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดที่แบ่งเป็นหน่วยแต่ละหน่วย มีมูลค่าเท่ากันและกำหนดประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกหน่วย
                        3.1.7หุ้นสามัญ(Common Stock)เป็นตราสารที่ผู้ถือมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ ตามสัดส่วนที่ถืออยู่ ต้องรับภาระความเสี่ยงจากผลการดำเนินงาน มีสิทธิในการควบคุมการดำเนินงาน โดยออกเสียงเลือกกรรมการบริหารบริษัท
                        3.1.8หน่วยลงทุน(Unit Trust)เป็นตราสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุน ซึ่งออกโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชน
                         3.1.9หุ้นบุริมสิทธิ(Preferred Stock)คือ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราตายตัว หุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
                        3.1.10ใบสำคัญแสดงสิทธิ(Warrant)เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
                        3.1.11หุ้นกู้แปลงสภาพ(Convertible Debentures)หมายถึง ตราสารประเภทหุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามราคาที่ระบุและตามระยะเวลาที่กำหนด อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างหุ้นกู้แปลงสภาพกับหุ้นสามัญสามารถกำหนดได้ในรูปของราคาแปลงสภาพหรืออัตราแปลงสภาพ
3.2 สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยรัฐบาลที่สำคัญ ได้แก่
                       3.2.1 พันธบัตรรัฐบาล (government bond) เป็นตราสารที่รัฐบาลออกเพื่อกู้ยืมในตลาดการเงิน โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ประกันการจำหน่ายแต่ผู้เดียว
                       3.2.2 พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (state enterprise bond) เป็นตราสารที่รัฐวิสาหกิจออกมาระดมทุนในประเทศแทนการกู้เงินจากต่างประเทศมีทั้งที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน อายุตั้งแต่ 3-10 ปี
                       3.2.3 ตั๋วเงินคลัง (treasury bills) คือ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุในการไถ่ถอนน้อยกว่า 1 ปี โดยปกติอายุในการไถ่ถอนของตั๋วเงินคลังที่รัฐบาลนิยมออกคือ 1,3,6 และ 9 เดือน
4. สถาบันการเงินในตลาดการเงิน
                      4.1สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือนายหน้าในการนำผู้ที่มีเงินออมคือผู้ต้องการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินมาพบกับผู้ที่ต้องการเงินโดยการขายสินทรัพย์ทางการเงิน เพื่อตกลงซื้อขายกัน
                      4.2สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นผู้ค้าสินทรัพย์ทางการเงินที่สำคัญได้แก่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลางและบริษัทเงินทุน
                      4.3สถาบันที่ทำหน้าที่ประกันการขายจะเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินทรัพย์ทางการเงินที่ออกใหม่
                      4.4สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน
                      4.5 สถาบันที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ระเบียบ ตลอดจนกำกับดูแลให้สถาบันกลุ่มอื่นๆ

 โครงสร้างตลาดการเงิน

การแบ่งประเภทของตลาดการเงินทําได้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยม คือ การแบ่งตามอายุของสินทรัพย์ทางการเงิน โดยแบ่งออกเป็น ตลาดเงินและตลาดทุน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 
• ตลาดเงิน (Money Market) เป็นตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก ตั๋วเงินคลัง เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนไปใช้ ในระยะสั้นหรือเพื่อการหมุนเวียนภายในกิจการ
• ตลาดทุน(Capital Market) เป็นตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป  เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น เพื่อนําเงินทุนที่ได้ไปใช้ในการลงทุนโครงการระยะยาวต่าง ๆ
ตลาดทุนแบ่งออกได้เป็นตลาดแรกและตลาดรอง
      - ตลาดแรก (Primary Market) เป็นตลาดที่สินทรัพย์ทางการเงินถูกซื้อขายครั้งแรก รหว่าง DSU กับ SSU โดย DSU เป็นผู้ออกหลักทรัพย์มาขายเพื่อนําเงินที่ได้ไปลงทุนในโครงการ ลงทุนต่าง ๆ
      - ตลาดรอง (Secondary Market) เป็นตลาดที่สินทรัพย์ทางการเงินที่ SSU ถือครองอยู่แต่ ต้องการขาย ด้วยเหตุผลที่ต้องการได้รับเงินทุน หรือต้องการขายเพื่อทํา กําไร จึงต้องหา SSU รายอื่นที่ต้องการลงทุน หรือ ซื้อสินทรัพย์ ทางการเงินนั้นแทน               
       -ตลาดรองยังสามารถแบ่งออกเป็น ตลาดที่เป็นทางการ (Organized Market) คือ ตลาดที่มี การจัดตั้งอย่างเป็นระบบ มีข้อบังคับกฎเกณฑ์ในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน หรือหลักทรัพย์ทางการเงินอย่างชัดเจน

กิจการวาณิชธนกิจ

      หมายถึง กิจการที่มีความเชี่ยวชาญทางการเงินที่เป็นตัวกลางในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์

หน้าที่ของกิจการวาณิชธนกิจ

รับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriting)
ทำหน้าที่ในการนำหลักทรัพย์ของบริษัทที่จัดหาเงินทุนออกจำหน่าย  โดยกิจการวาณิชธนกิจจะรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ในกรณีไม่สามารถจำหน่ายหลักทรัพย์ได้หมดหรือจำหน่ายได้ในราคาที่ต่ำกว่า
กำหนดการจัดจำหน่าย (Distributing)
นำหลักทรัพย์ออกจำหน่ายแก่นักลงทุนทั่วไป  ซึ่งอาจจะจำหน่ายผ่านสาขาของกิจการวาณิชธนกิจหรือผ่านตัวแทนจำหน่าย
การให้คำปรึกษา (Advising)
ให้คำปรึกษาทางการเงินของกิจการไม่ว่าในด้านการลงทุน  การซื้อขายหลักทรัพย์  รวมถึงการให้ข่าวสารเกี่ยวกับตลาดหุ้นด้วย

การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์

         คือ การที่ผู้จำหน่าย (underwriter) รับหลักทรัพย์ที่ออกใหม่จากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ (issuer) แล้วนำมาขายให้แก่ประชาชนทั่วไปหรืออาจกล่าวสั้นๆ ว่าเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในตลาดแรก (primary market) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ผุ้ประกอบการจะต้องมีใบอนุญาตจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ โดยทั่วไปแล้ว การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ
(1) การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่มีการรับประกันผลการจำหน่าย (firm commitment underwriting)
(2) ไม่มีการรับประกันผลการจำหน่าย ขายได้เต็มที่เท่าไรก็เท่านั้น (best effort)

วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Distribution Methods)

1.   วิธีการเจรจาต่อรอง (negotiated purchase)
            บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เจรจาต่อรองโดยตรงกับกิจการวาณิชธนกิจ  เกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ
2.   วิธีการประมูลราคาหลักทรัพย์ (competitive bid purchase)
            กิจการวาณิชธนกิจหลายๆกลุ่มเข้าแข่งขันประมูลราคาหลักทรัพย์
3.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบพยายามที่สุด (best efforts basis)

                        กิจการวาณิชธนกิจจะเป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายเท่านั้นจะไม่ รับประกันการจำหน่าย       4.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบ privileged subscription
            กิจการวาณิชธนกิจจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนเฉพาะกลุ่ม     เช่น  ผู้ถือหุ้นปัจจุบัน  พนักงานบริษัท หรือลูกค้าของบริษัท
5.  วิธีการขายตรง (direct sale)
เป็นวิธีที่จำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนเฉพาะกลุ่มเช่นเดียวกันแบบ privileged subscription  แต่จะต่างกันตรงวิธีขายตรงจะขายให้แก่นักลงทุนโดยตรงโดยไม่ผ่านกิจการวาณิชธนกิจ 

แบบฝึกหัด

1.ตลาดเงินและตลาดทุนมีความแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตลาดเงิน(Money Market) ซื้อขายหลักทรัพย์อายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี หรือ จัดหาเงินทุนในระยะสั้น
ตลาดทุน(Capital Market) อายุมากกว่า 1 ปี หรือ จัดหาเงินทุนระยะยาว

2. สินทรัพย์ทางการเงินที่ออกโดยภาครัฐ มีอะไรบ้าง อธิบาย

1 พันธบัตรรัฐบาล คือ เป็นตราสารที่รัฐบาลออกเพื่อกู้ยืมในตลาดการเงิน โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ประกันการจำหน่ายแต่ผู้เดียว
2 พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ คือ เป็นตราสารที่รัฐวิสาหกิจออกมาระดมทุนในประเทศแทนการกู้เงินจากต่างประเทศมีทั้งที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน อายุตั้งแต่ 3-10 ปี
3 ตั๋วเงินคลัง คือ สินทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุในการไถ่ถอนน้อยกว่า 1 ปี โดยปกติอายุในการไถ่ถอนของตั๋วเงินคลังที่รัฐบาลนิยมออกคือ 1,3,6 และ 9 เดือน

3.ตลาดทุนแบ่งออกเป็นกี่ตลาดอะไรบ้าง

ตลาดทุนแบ่งออกเป็น 2 ตลาด คือ ตลาดแรกและตลาดรอง

4. การจำหน่ายหลักทรัพย์แบ่งออกเป็นกี่รูปแบบอะไรบ้าง

การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
 1  การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่มีการรับประกันผลการจำหน่าย
  2  ไม่มีการรับประกันผลการจำหน่าย ขายได้เต็มที่เท่าไรก็เท่านั้น

5. วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์มีกี่วิธี อะไรบ้าง

มี 5 วิธี ดังนี้
1.   วิธีการเจรจาต่อรอง
2.   วิธีการประมูลราคาหลักทรัพย์
3.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบพยายามที่สุด
4.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบ
5.  วิธีการขายตรง 


1 ความคิดเห็น:

  1. Top 10 YouTube videos - Videoslots
    The #1 source for YouTube videos on Vimeo, the world's largest community for free. Play your favorite videoslots on Vimeo. I'm going youtube mp3 to go ahead and tell you a great thing about

    ตอบลบ