วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่10การประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท


บทที่ 10

การประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท

อัตราส่วนทางการเงิน
         อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงินมาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่น หรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยงของกิจการได้ดียิ่งขึ้น

การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงิน
          การวิเคราะห์จะสามารถทำการเปรียบเทียบได้ 2 วิธี คือ
           การเปรียบเทียบอัตราส่วนแบบ across time  ซึ่งจะดูว่าแนวโน้มในอนาคตของบริษัทจะเป็นอย่างไร  โดยการเปรียบเทียบนั้นจะทำโดยการเปรียบเทียบอัตราส่วนของบริษัท ณ เวลาปัจจุบันกับอัตราส่วนทางการเงินในอดีต
          การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทกับอัตราส่วนค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม  ซึ่งจะต้องเป็นค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเดียวกันด้วย
             

ประเภทของอัตราส่วนทางการเงิน(Basic of Financial Ratios)

        1.  การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง หรือวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น(Liquidity Ratios)
       2.  การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพหนี้สิน  (Leverage Ratios)
        3.  การวิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
        4.  การวิเคราะห์อัตราส่วนมูลค่าตลาด (Market-Value Ratios)

การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)

            การวิเคราะห์สภาพคล่อง  คือการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ  ว่าธุรกิจมีทรัพยากรหรือเงินสดเพียงพอต่อการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้หรือไม่  โดยอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่
§  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
§  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเร็ว (Quick (acid-test) Ratio)
§  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
                        วิธีนี้จะเป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียน (เงินและทรัพย์สินที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี) กับหนี้สินหมุนเวียน (หนี้สินที่มีกำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปี)



Ø     อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
                        วิธีนี้จะเป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียน (เงินและทรัพย์สินที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี) กับหนี้สินหมุนเวียน (หนี้สินที่มีกำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปี) 
             


การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพหนี้สิน (Leverage Ratios)

                 เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้สิน หรือความสามารถในการ    ชำระหนี้ตามภาระผูกพันระยะยาวของธุรกิจ  โดยอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์มีดังนี้
v อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม (Debt Ratio)
v อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt – to – equity Ratio)
v อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (time – Interest Earned Ratio)
v อัตราส่วนแสดงความสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำทางการเงิน (EBITDA Converage Ratio)

vอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม

  อัตราส่วนนี้จะใช้พิจารณาว่าทรัพย์สินที่บริษัทได้ลงทุนนั้นมีการใช้เงินทุนจากหนี้สินมาลงทุนคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนรวมทั้งหมด ซึ่งสามารถคำนวณได้จาก
             =    –(มุมของเจ้าหนี้ ยิ่งมากยิ่งเสียง)
                    –(มุมของลูกหนี้ ยิ่งมากยิ่งดี) 
                                                            

vอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt – to – equity Ratio)

   อัตราส่วนนี้บ่งบอกได้ว่าการลงทุนในบริษัทดังกล่าวมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด
 ค่ามากกว่า 1 แสดงว่าบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น แสดงถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้น หรือบ่งบอกความสามารถของการกู้ยืมของกิจการว่าสามารถกู้ยืมได้มากเท่าไหร่

v  อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (time – Interest Earned Ratio)
                อัตราส่วนนี้จะแสดงถึงจำนวนของกำไรจากการดำเนินงานว่ามีเพียงพอต่อการชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทหรือไม่  ซึ่งสามารถหาได้จาก

           
               
                ซึ่งถ้าค่าที่ได้ยิ่งสูงยิ่งแสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยได้ดี
หมายเหตุ : อัตราส่วนนี้จะแสดงแค่ความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว  
                     เท่านั้น  จะไม่รวมถึงความสามารถในการชำระคืนหนี้สินทั้งหมดของบริษัท
                     (เงินต้น + ดอกเบี้ย)
vอัตราส่วนแสดงความสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำทางการเงิน    
    (EBITDA Converage Ratio)  

อัตราส่วนนี้จะบอกถึงภาระผูกพันของกิจการ หรือก็คือ ใช้วัดว่ากระแสเงินสดสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำได้เพียงไร

                    


การวิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios)

  เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ  โดยอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์มีดังต่อไปนี้
üอัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขาย (Gross Profit Margin)
üอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (Operating Profit Margin)
üอัตราส่วนผลกำไรต่อยอดขาย (Profit Margin)
üอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Total Asset) หรือ ROA
üอัตราส่วนรายได้ขั้นพื้นฐาน (Basic Earning Power)
üอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Common Equity) หรือ ROE
ü  อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขาย (Gross Profit Margin)
            อัตราส่วนนี้จะแสดงว่ากิจการมีกำไรขั้นต้นเป็นร้อยละเท่าใดของยอดขาย 
       
      
            ค่าที่คำนวณได้ของอัตราส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดี ยิ่งแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นของกิจการ             
 üอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (Operating Profit Margin)
  อัตราส่วนนี้จะบ่งบอกว่าบริษัทสามารถทำกำไรจากการดำเนินงานได้เท่าใดจากยอดขาย

 

โดยค่าที่คำนวณได้ยิ่งสูงยิ่งดี  ยิ่งแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นต่อยอดขายได้สูง
üอัตราส่วนผลกำไรต่อยอดขาย (Profit Margin)
  โดยอัตราส่วนนี้จะบ่งบอกว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าใดจากยอดขาย
  

ค่าที่คำนวณได้จะแสดงให้ทราบว่า กิจการมีกำไรสุทธิเป็นร้อยละเท่าไรของยอดขาโดยอัตราส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดีแสดงความสามารถในการทำกำไรสุทธิ
üอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Total Asset) หรือ ROA
 
  อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์รวมที่กิจการมีอยู่ว่าก่อให้เกิดผลตอบแทนในรูปกำไรให้กับธุรกิจมากหรือน้อยอย่างไร     
        
  ค่าที่คำนวณได้ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่ากิจการใช้สินทรัพย์แล้วก่อให้เกิดกำไรสูง  ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ  แสดงว่าการใช้สินทรัพย์แล้วก่อให้เกิดกำไรน้อย  
üอัตราส่วนรายได้ขั้นพื้นฐาน (Basic Earning Power)
  อัตราส่วนนี้ใช้วัดความสามารถในการทำกำไร โดยไม่รวมภาษีและดอกเบี้ยจ่ายของกิจการ

  โดยค่าที่คำนวณได้ยิ่งมีค่าสูงยิ่งแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไร โดยไม่รวมภาษีและดอกเบี้ยมาก (ยิ่งสูงยิ่งดี)
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity)หรือ ROE 
  
เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้ผู้ถือหุ้นทราบว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนมากน้อยเพียงใด

  ค่าที่คำนวณได้ยิ่งสูงยิ่งแสดงว่ากิจการนำส่วนของผู้ถือหุ้นมาลงทุนแล้วก่อให้เกิดกำไรมากเท่านั้น (ยิ่งสูงยิ่งดี)             
 การวิเคราะห์อัตราส่วนมูลค่าตลาด (Market-Value Ratios)
        ประกอบไปด้วยอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้
อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น  (Price-Earning  Ratio  or  P/E  Ratio)
ราคาตามบัญชีต่อหุ้นสามัญ (Book Value per share)
อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (Market/Book Value Ratio  or    M/BV Ratio

   อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น(Price-Earning  Ratio  or  P/E  Ratio)

                อัตราส่วนนี้จะแสดงว่าเพื่อให้ได้กำไร  1  บาทต่อหุ้น  ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนเท่าใด  หรือราคาหุ้นเป็นกี่เท่าของกำไรต่อหุ้น
              
                ถ้าค่าที่คำนวณได้สูง  ยิ่งแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรในอนาคตได้มากเท่านั้น (ยิ่งสูงยิ่งดี) 
ราคาตามบัญชีต่อหุ้นสามัญ (Book Value per share)
โดยที่  ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม = สินทรัพย์รวม – หนี้สินรวม
อัตราส่วนนี้จะทำให้ทราบว่ากิจการมีราคาตามบัญชีต่อหุ้นสามัญของกิจการว่ามีจำนวนเท่าใด

  อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี  (Market/Book Value Ratio  or  M/B Ratio)

                

              

  โดยที่ มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น  คำนวณจาก  ส่วนของเจ้าของ จำนวนหุ้นสามัญ

                ถ้าค่าที่คำนวณได้มีอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่านักลงทุนเต็มใจที่จะจ่ายมากกว่าสำหรับทุกๆบาทของมูลค่าตามบัญชีของบริษัท (ยิ่งสูงยิ่งดี)
ข้อจำกัดของอัตราส่วนทางการเงิน
บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าบริษัทนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทใด  เนื่องจากว่าบริษัทส่วนใหญ่จะประกอบธุรกิจหลายๆประเภท  ดังนั้นบริษัทจึงต้องเลือกประเภทของอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับธุรกิจที่ทำอยู่มากที่สุด
อัตราส่วนค่าเฉลี่ยมาตรฐานของอุตสาหกรรมที่มีการจัดพิมพ์ไว้นั้นเป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น
การจัดทำบัญชีในทางปฏิบัติของบริษัทต่างๆค่อนข้างจะแตกต่างกัน  จึงทำให้การคำนวณอัตราส่วนทางการเงินนั้นมีความแตกต่างกันด้วย
อัตราส่วนทางการเงินสามารถมีค่าที่สูงมากเกินไปหรือมีค่าต่ำมากเกินไปได้
อัตราส่วนค่าเฉลี่ยมาตรฐานของอุตสาหกรรมบางครั้งอาจไม่เป็นค่าเฉลี่ยมาตรฐานก็ได้  เนื่องจากในบางครั้งอัตราส่วนค่าเฉลี่ยมาตรฐานอาจไม่ได้เป็นเกณฑ์ในการประเมินสถานะทางการเงินที่ดีเสมอไป  การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินกับบริษัทคู่แข่งอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าได้
เนื่องจากบริษัทหลายแห่งจะดำเนินงานเป็นไปตามฤดูกาล  เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน  ควรใช้ค่าเฉลี่ยมากกว่าที่จะเป็นมูลค่า ณ สิ้นปี

มาลองทำแบบฝึกหัดกันเลย

1.อัตราส่วนทางการเงินหมายถึงอะไร   

 2.การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง

 3.ประเภทอัตราส่วนทางการเงินมีอะไรบ้าง

   จากงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินของบริษัท ไมตรี จำกัด ณ ปลายปี 2556 มีรายละเอียด ดังนี้



    จงหาคำนวณหาค่า ROA และROE ของบริษัท รักดี จำกัด
เฉลยข้อที่1

เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงินมาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่น หรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยงของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
  เฉลยข้อที่2

     การเปรียบเทียบได้มี 2 วิธี คือ
     1.การเปรียบเทียบอัตราส่วนแบบ across time
    2.การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทกับอัตราส่วนค่าเฉลี่ยของ
เฉลยข้อที่3
       1.  การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง หรือวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น
               (Liquidity Ratios)
       2.  การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพหนี้สิน  (Leverage Ratios)
       3.  การวิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
       4.  การวิเคราะห์อัตราส่วนมูลค่าตลาด (Market-Value Ratios)
เฉลยขอที่ 4 - 5
ROA = 10%
ROE = 12%

1 ความคิดเห็น:

  1. Why do people love casino games? - Boogie Nights
    Casino gambling is 마블 슬롯 where you play casino games for 재제 real money and prizes 메이저 벳 먹튀 at the 텍사스 홀덤 룰 same time. The goal is to win at the casino 바카라사이트쿠폰 and win more often.

    ตอบลบ